ระบบคำขอตั้งงบประมาณ

ตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อการตอบสนองการเปลี่ยนธุรกิจในยุคดิจิทัล (Digital Transformation?) และการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยโดยใช้หลักความคุ้มค่า (Cost Effectiveness) เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควบคู่กับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าๆ โดยการใช้ระบบ Lean Management ซึ่งเป็นการลดขั้นตอน ลดเวลา และค่าใช้จ่าย อย่างเช่นกระดาษ มหาวิทยาลัยมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่องทุกปี และสนับสนุนนโยบายระดับประเทศอย่างไทยแลนด์ 4.0 โดยให้มีการทำงานบนฐานข้อมูลเดียวกัน (Centralization) ดังนั้น "ระบบคำขอตั้งงบประมาณ" จึงเป็นเครืองมือในการจัดทำข้อมูลคำขอตั้งงบประมาณของส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย และตอบสนองการทำงานในรูปแบบของดิจิตัลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ส่วนแผนและยุทธศาสตร์ร่วมกับฝ่ายบริหารข้อมูลทรัพยากร สำนักงานอธิการบดี
ได้ร่วมกันพัฒนาระบบจัดทำคำขอตั้งงบประมาณขึ้น เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดทำแผนงบประมาณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเริ่มให้จัดทำคำขอในระบบครั้งแรก ในการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ส่วนแผนฯ จะเสนอกรอบวงเงินประมาณการรายรับปี 64 ต่อคณะกรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สินในวันที่ 18 พค.63 และจะส่งให้ส่วนงานเริ่มจัดทำคำขอหลังจากได้รับอนุมัติจากที่ประชุมในกรณีหน่วยงานที่มีวงเงิน  ส่วนหน่วยงานสนับสนุนส่วนแผนฯ จะขอส่งหนังสือให้ดำเนินการจัดทำคำขอตั้งล่วงหน้าก่อน 

ทั้งนี้ในการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณในระบบนั้น ส่วนแผนฯ และฝ่ายบริหารข้อมูลทรัพยากร จะขอให้หน่วยงานเข้าร่วมฝึกอบรมออนไลน์ในวัน เวลาดังนี้

1. หน่วยงานสนับสนุน วันที่  19 พฤษภาคม 2563  เวลา 9.00 น. เริ่มบันทึกคำขอได้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
2. หน่วยงานมีเงิน วันที่  26 พฤษภาคม 2563  เวลา 9.00 น.เริ่มบันทึกคำขอได้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

ระบบคำขอตั้งงบประมาณ มีหลักการทำงานในรูปแบบเว็ปไซต์ โดยใช้บัวศรีไอดีเป็นกุญแจเข้าสู่ระบบ ซึ่งสามารถทำงานได้แบบออนไลด์ (Online)ตลอดเวลา โดยไม่จำกัดอุปรณ์การใช้งาน มีการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงทั้งผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบ และมีหัวใจสำคัญดังต่อไปนี้

1. เพื่อให้การป้อนข้อมูลเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน สามารถออกรายงานได้ทันเวลาและรวดเร็ว
2. ลดขั้นตอนในขบวนการรวบรวมข้อมูล และเพิ่มเวลาในการคิดวิเคราะห์
3. นำข้อมูลไปใช้ประกอบการพิจารณาการอนุมัติของกรรมการในแต่ละขั้นตอน พร้อมทั้งสำรองข้อมูลในแต่ละขั้นตอนไว้ประกอบการพิจารณา และสามารถเผยแพร่เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จแต่ละขั้นตอนได้ทันที
4. สามารถดาวน์โหลด (Download) ข้อมูลจัดสรรงบประมาณ ไปยังระบบ SWU-ERP ได้
5. จัดทำข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ในรูปแบบ Q&A หรือ Dashboard ได้
6. สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ย้อยหลังในการวางแผนควบคุมภายในหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ